วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

มิวสิคที่ตนเองสนใจ


   EXO-K_MAMA_Music  

   

   เหตุผลที่เลือกเพลงนี้เพราะ ต้องการสื่อให้รู้ว่าชีวิตของคนเรา มีการก้าวหน้าต่อไป ซึ่ง เพลงนี้  มี คำที่ ท้อใจเหนื่อยใจ เช่น พวกเขาไม่เคยรู้ว่าชีวิตยังมีช่วงเวลาที่สวยงามอยู่  - เหลือทิ้งไว้แต่  ความว่างเปล่า  แต่ก็ยัง บวกคำที่ให้กำลังใจ ในการต้อสู้เพื่อผ่านพ้น ชีวิตแบบนี้ไปได้  ซึ่ง เพลงนี้ เป็นแนวดนตรีที่สนุก น่าสนใจ และน่า ชมอย่างมากมาย 

เทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจ

เทคโนโลยีสารสนเทศที่น่าสนใจ



         กลับมาอัพเดทข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ iPhone 5S กันอีกครั้ง ล่าสุดมีรายงานผลการทดสอบชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของแอปเปิลที่จะใช้กับ iPhone 5S เปิดเผยออกมาแล้ว โดยชิปรุ่นใหม่มีประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่นเดิมถึง 31%
         เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา มีรายงานจากแหล่งข่าวในต่างประเทศเกี่ยวกับข้อมูลชิปประมวลผลรุ่นใหม่ของแอปเปิลในรุ่น Apple A7 ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นกว่ารุ่น Apple A6 ถึง 31% และชิปรุ่นนี้รองรับการทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต ส่งผลให้ iPhone รุ่นใหม่ ทำงานได้รวดเร็วขึ้นรวมถึงการประมวลผลทางด้านกราฟิกในภาพรวมดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ข่าวนี้คงไม่ใช่เรื่องตื่นเต้นอะไรมากมายนักสำหรับแฟน ๆ แอปเปิล เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า แอปเปิลพัฒนาชิปให้ดีขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ แต่ที่น่าสนใจก็คือในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานมากกว่า
        ส่วนสเปคอื่น ๆ ของ iPhone 5S ที่ถูกเปิดเผยมาก่อนหน้านี้จะมาพร้อมหน้าจอขนาด 4 นิ้ว ความละเอียด 1136×640 พิกเซล ใช้เทคโนโลยี IGZO ของ Sharp ช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานมากขึ้นและสีสันต่าง ๆ สวยสมจริง ด้านกราฟิกใช้ชิปประมวลผล (GPU) แบบ Quad-Core PowerVR SGX544MP4, แรม 2GB, ความจุ 128GB มีกล้องถ่ายภาพความละเอียด 12 ล้านพิกเซล และถ่ายวิดีโอแบบ slow motion ได้ ส่วนด้านการเชื่อมต่อมีเทคโนโลยี NFC และ Fingerprint ระบบสแกนลายนิ้วมือ
      อย่างไรก็ดี ตอนนี้ทำได้แค่เพียงรอเวลาจากทางแอปเปิลจะออกมาบอกว่าเปิดตัว iPhone รุ่นใหม่ในช่วงเดือนกันยายนนี้ตามข่าวที่เปิดเผยมาก่อนหน้านี้จริงหรือไม่ ส่วนเรื่องสเปคและฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ iPhone รุ่นใหม่ คงต้องไปรอดูกันในวันเปิดตัวจริง ๆ อีกที 

อ้างอิง http://iphone.kapook.com/

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎของมัวร์ (moore's law)


     กฎของมัวร์ (moore's law)   
                        

 กฎของมัวร์ คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกสองปี  เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น มัวร์เคยคาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือนกอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ ขึ้นซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์
บนวงจรรวม

  ใปีพ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ ประดิษฐ์ขึ้นว่า"ทรานซิสเตอร์"
แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทน หลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมาและก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

              พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์ 

                                                                                  ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก wikipedia.org
                                                                    

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล

Photobucket รหัสแทนข้อมูล Ascll  และ Unicode Photobucket 
           




                  รหัสแอสกี  ย่อมาจาก American Standard Code For Information Interchage เป็นการสร้างรหัสแทนสัญลักษณ์บนระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดเป็นครั้งแรกโดยสถาบัน ANSI แต่เดิมนั้นมีขนาด 7 บิต ใช้แทนตัวอักษร,ตัวเลขและสัญลัษณ์ต่างๆ ทั้งสิ้น 128แบบ และมีการเพิ่มภายหลังเป็นรหัสขนาด 8 บิต ซึ่งมีไว้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการส่งข้อมูล เรียกว่า พาริตีบิต จึงทำให้มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น 256 แบบ และรหัสแอสกีนี้เข้าได้กับเครื่องคอมทุกเครื่อง ถ้าเป็นรหัสอื่น ต้องแปลงเป็นแอสกีก่อน จึงจะใช้ได้ 






          รหัสยูนิโค้ด (Unicode)  เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16 บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font) ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย




  แทนชื่อด้วยรหัสSACII  


CHALUEMPOL TIPPRASURTSIN

    ชื่อ              Splash            สกุล 
    0100 0011                       0010 0000                    0101 0100
   0100 1000                                                                 0100 1001
   0100 0001                                                                 0101 0000
   0100 1100                                                                 0101 0000
  0101 0101                                                                 0101 0010
  0100 0101                                                                 0100 0001
  0100 1101                                                                 0101 0011
  0101 0000                                                                0101 0101
  0100 1111                                                                 0101 0010    
  0100 1100                                                                0101 0100  
                                                                                      0101 0011
                                                                                      0100 1001
                                                                                       0100 1110  


   CHALUEMPOL TIPPRASURTSIN   
                               มีทั้งหมด 24 Byte  หาค่าโดย  
ความรัก1 ตัวอักษร เท่ากับ 1 Byte   1 Byte เท่ากับ 8 Bit  24 คูณ 8 เท่ากับ 192 Bit 

แบบทดสอบ เรื่อง โครงสร้างและฟังก์ชันการทำงาน ภายในระบบคอมพิวเตอร์

คลิกที้นี้

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ ( Parity Bit )


 บิตตรวจสอบ ( Parity Bit ) 

            แพริตีบิต หรือ บิตภาวะคู่หรือคี่  (parity bit) หรืออาจเรียกเพียงแค่ แพริตี้บิต หมายถึงบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปต่อท้ายหรือขึ้นต้น เพื่อทำให้แน่ใจว่าบิตที่เป็นค่า 1 ในข้อมูลมีจำนวนเป็นเลขคู่หรือเลขคี่การใช้แพริตีบิตเป็นวิธีที่ง่ายอย่างหนึ่งในการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด
       แพริตีบิตมีสองชนิดคือ แพริตีบิตคู่ (even parity bit) กับ แพริตีบิตคี่ (odd parity bit) ตามข้อมูลในเลขฐานสอง
  •  แพริตีบิตคู่   จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)

  •  แพริตีบิตคี่ จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้)

    ถ้าหากจำนวนบิตที่เป็นเลขคี่ (รวมทั้งแพริตีบิต) เปลี่ยนไปจากปกติในการส่งผ่านกลุ่มบิตข้อมูล แสดงว่าแพริตีบิตนั้นไม่ถูกต้อง และแสดงให้เห็นว่าเกิดความผิดพลาดในการส่งผ่านข้อมูล ดังนั้นแพริตีบิตจึงสามารถใช้เป็นรหัสตรวจหาความผิดพลาด แต่ไม่เป็นรหัสแก้ไขความผิดพลาด เนื่องจากไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าบิตไหนบ้างที่ข้อมูลผิดไปจากเดิม รู้แต่เพียงว่าเกิดขึ้นเท่านั้น และเมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะต้องถูกละทิ้งและส่งผ่านมาใหม่ตั้งแต่ต้นโดยอัตโนมัติ ถ้าหากสื่อที่ใช้ส่งผ่านมีสัญญาณแทรกซ้อนมาก การส่งผ่านข้อมูลให้สำเร็จจึงอาจต้องใช้ระยะเวลานาน หรือถึงขั้นไม่สำเร็จไปเลย อย่างไรก็ตาม แพริตีบิตก็มีข้อดีตรงที่เป็นรหัสตรวจสอบที่ใช้เนื้อที่เพิ่มเพียงบิตเดียว และใช้เกต XOR เพียงไม่กี่ตัวเพื่อสร้างบิตนั้นขึ้นมา
  การตรวจสอบแพริตีบิตจะใช้กับการส่งผ่านข้อมูลอักขระแอสกีในบางโอกาส เนื่องจากอักขระแอสกีมีแค่เจ็ดบิต และอีกหนึ่งบิตที่เหลือก็ใช้เป็นแพริตีบิตได้พอดี

                                                         BY........SIR JAMES ESWOLLTUN